นาย เจษฎาภรณ์ คัชรินทร์ ชั้น.6/2 เลขที่5
บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2023
ยาอี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ยาอี . ยาอี หรือ ecstasy เป็นยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่เรียกว่า MDMA หรือ methamphetamine เป็นสารเสพติดชนิดกระตุ้นประสาท โดยออกฤทธิ์กระตุ้นสมองชั้นในเพื่อกระตุ้นความสุข ทำให้ผู้เสพมีอาการเคลิบเคลิ้ม คึกคัก รู้สึกสนุกอยู่ตลอดเวลา เห็นแสงและสีที่ต่างไปจากจริง รวมถึงยังกระตุ้นความต้องการทางเพศให้สูงขึ้น ยาอี จึงมีฉายาที่เรียกว่ายาเลิฟนั่นเอง ยาเสพติดชนิดนี้จึงมักถูกนำมาใช้ในงานปาร์ตี้สังสรรค์และเป็นที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่น โดยในขณะออกฤทธิ์ ผู้เสพจะมีอาการหัวใจสูบฉีด กล้ามเนื้อกระตุก เนื่องจากฤทธิ์ของยาอีส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ เมื่อยาหมดฤทธิ์ ผู้เสพบางรายอาจมีอาการซึมเศร้า หดหู่ และประสาทหลอน (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี 2522 ) แหล่งที่มาhttps://thaipublica.org/2023/05/srinaka-happy-water-23-05-2566/
กัญชา
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
กัญชา กัญชา (cannabis sativa) พืชกัญชาชนิด cannabis sativa เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ในกัญชามีสารเคมี cannabinoids อยู่จำนวนหนึ่ง โดยสารสำคัญในกลุ่มนี้ที่เชื่อว่าออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ d9- tetrahydrocannabinol (thc) และสารดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การค้นคว้าเกี่ยวกับฤทธิ์ของ thc นำไปสู่การผลิตยา dronabinol (marinol) ซึ่งมีส่วนผสมของ thc สำหรับใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน และทำให้เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์ กัญชานิยมเสพโดยการสูบ ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะ
ยาเค
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ยาเค ยาเค หรือ ketamine เป็นยาที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ทางการแพทย์โดยการใช้เป็นยาสลบ จัดเป็นยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรง ส่งผลให้ระดับสารเคมีในสมองเสียสมดุล บิดเบือนความรู้สึกของผู้เสพ และเนื่องจากเป็นยาที่จัดอยู่ในหมวดยาสลบ ผู้เสพจะรู้สึกเหมือนหลุดออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีอาการมึนเมา เคลิบเคลิ้ม เห็นภาพหลอนเนื่องจากกระบวนการรับรู้และตอบสนองได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ยา หากได้รับยาในปริมาณมากจะทำให้เกิดการสูญเสียกระบวนการทางความคิด ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน หวาดระแวง หูแว่ว โดยส่วนมากยาเคจะอยู่ในรูปแบบผงสีขาว ไร้กลิ่น ไร้รส จึงนิยมนำมาใช้ในลักษณะสูดดมเพื่อให้เกิดอาการเมาหรือผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ (จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518) แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2023/05/srinaka-happy-water-23-05-2566/
ยานอนหลับ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ยานอนหลับ . ยานอนหลับ เช่น กลุ่มยาไดอะซีแพม (diazepam), กลุ่มยาไนเมตาซีแพม (nimetazepam) หรือตัวยาอื่นๆ ในกลุ่มของยานอนหลับ จัดอยู่ในกลุ่มยาคลายกังวล สงบประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ รวมถึงการรักษาโรคที่เกิดจากความเครียด เนื่องจากจะช่วยออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกัน อย่างไรก็ตาม ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยทั่วไปการใช้ยาชนิดนี้จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งผลข้างเคียงของการใช้ยาชนิดนี้คือ อาจมีอาการคล้ายเมาค้าง มองเห็นภาพซ้อน หายใจติดขัด นำไปสู่อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และหากนำไปใช้ร่วมกับยากดประสาทชนิดอื่นๆ หรือแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2023/05/srinaka-happy-water-23-05-2566/
ฝิ่น
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ฝิ่น [1] ฝิ่น (Opium) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ที่เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า แอลคะลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมาและเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine) ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่าแอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติดแต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคั
เฮโรอิน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เฮโรอิน เฮโรอีน เฮโรอีน ( อังกฤษ : heroin ) มีอีกชื่อว่า ไดอาเซทิลมอร์ฟีน (diacetylmorphine) และ ไดอามอร์ฟีน (diamorphine) กับชื่ออื่น ๆ [3] เป็น โอปิออยด์ มีกำลังที่ส่วนใหญ่ใช้ในฐานะ ยากระตุ้นความบันเทิง ที่ก่อให้เกิดอาการเคลิ้มสุข ไดอามอร์ฟีนทางการแพทย์เป็นเกลือไฮโดรคลอไรด์บริสุทธิ์ มีการขายผงขาวและน้ำตาลอย่างผิดกฎหมายจำนวนมากทั่วโลก เนื่องจากเฮโรอีนสามารถ "ตัด" ได้หลายรูปแบบ เฮโรอีนใช้ในทางการแพทย์ในหลายประเทศเพื่อบรรเทาอาการปวด อย่างในช่วงคลอดลูก หรือมี โรคหัวใจวาย เช่นเดียวกันกับ การบำบัดทดแทนโอปิออยด์ [8] [9] [10] ผลข้างเคียงโดยทั่วไปได้แก่ การกดการหายใจ (หายใจน้อยลง), ปากแห้ง, เซื่องซึม, การทำงานทางจิตบกพร่อง, ท้องผูก และ การติด [11] การใช้งานด้วยวิธีการฉีดสามารถก่อให้เกิด ฝี , การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ , เชื้อที่ติดต่อทางเลือด และ โรคปอดอักเสบ [11] หลังการใช้งานเป็นเวลายาวนาน อาการที่เกี่ยวกับ การหยุดใช้งานโอปิออยด์ จะเริ่มมีผลหลังใช้งานครั้งสุดท้ายภายในไม่กี่ชั่วโมง [11] ถ้าฉีดเข้าเส้นเลื
มอร์ฟีน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
มอร์ฟีน มอร์ฟีน ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์ เป็นผู้แรกที่แยกมอร์ฟีนระหว่าง ค.ศ. 1803 ถึง 1805 โดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นการแยกสารประกอบกัมมันต์จากพืชครั้งแรก แมร์คเริ่มขายเชิงพาณิชย์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1827 มอร์ฟีนมีใช้กว้างขวางหลังการประดิษฐ์กระบอกฉีดยาชั้นใต้หนังใน ค.ศ. 1853–1855 แซร์ทัวร์เนอร์เดิมตั้งชื่อสารนี้ว่ามอร์เฟียมตามพระนามเทพเจ้าแห่งฝันของกรีก มอร์เฟียส สำหรับแนวโน้มที่จะทำให้หลับ แหล่งมอร์ฟีนหลักคือการแยกจากฟางป๊อปปี (poppy straw) จาก ต้นฝิ่น ใน ค.ศ. 2013 มีการผลิตมอร์ฟีนประมาณ 523,000 กิโลกรัม มีการใช้ 45,000 กิโลกรัมโดยตรงสำหรับความปวด ซึ่งเพิ่มสี่เท่าในเวลายี่สิบปี การใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ส่วนมากในประเทศพัฒนาแล้ว มอร์ฟีนประมาณ 70% ใช้ผลิตโอพิออยด์อื่น เช่น ไฮโดรมอร์โฟน อ็อกซีโคโดน เฮโรอีน และ เมทาโดน เป็นยา Schedule II ในสหรัฐ Class A ในสหราชอาณาจักร และ Schedule I ในประเทศแคนาดา มอร์ฟีนอยู่ในรายการยาหลักของตัวแบบองค์การอนามัยโลก ยาสำคัญที่สุดที่จำเป็นในระบบสาธารณสุขพื้นฐาน การใช้ทางการแพทย์ [ แก้ ] ความเ
กระท่อม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
กระท่อม กระท่อม การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ กระท่อม [2] หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth. [3] เป็นพืชใน วงศ์กาแฟ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ทางภาคใต้เรียก ท่อม (thom) ภาคกลางเรียก อีถ่าง มาเลย์เรียก เบี๊ยะ (biak) หรือ เคอตุ่ม (ketum) หรือ เซบัท (sepat) เป็นพืชท้องถิ่นของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะใน ประเทศไทย , อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , พม่า และ ปาปัวนิวกินี ที่ซึ่งปรากฏการใช้งานกระท่อมในฐานะยาสมุนไพรมาตั้งแต่อย่างน้อยคริสต์ศตวรรษที่ 19 กระท่อมมีคุณสมบัติ โอปีออยด์ และมีผลคล้าย สารกระตุ้น บางส่วน ข้อมูลจาก ปี 2018 ระบุว่าประสิทธิภาพและความปลอดภัยของกระท่อมยังคงไม่สามารถสรุปได้ และยังคงไม่ได้รับการอนุมัติเป็น ยารักษาโรค เนื่องจากงานวิจัยเกี่ยวกับกระท่อมจำนวนมากขาดคุณภาพ ใน ค.ศ. 2019 องค์การอาหารและยาสหรัฐ บันทึกไว้ว่า ไม่มีหลักฐานที่ว่ากระท่อมปลอดภัยหรือมีผลต่อการรักษาทุกแบบอย่างไรก็ตาม ปรากฏผู้คนบางส่วนใช้กระท่อมเพื่อบรรเทา อาการปวดเรื้อรัง , อาการ ถอนฝิ่น รวมไปถึงการใช้ ในเชิงนันทนา
แอมเฟตามีน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แอมเฟตามีน แอมเฟตามีน แอมเฟตามีน ( อังกฤษ : amphetamine, amfetamine ย่อมาจาก alpha-methylphenethylamine) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปี พ.ศ. 2518 แต่ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 135 ปี พ.ศ. 2539 กำหนดให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ( สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข , 2539) แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆ มีสูตรทางเคมีคือ C 9 H 13 N ประวัติ [ แก้ ] แอมเฟตามีน เป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1887 โดย นักวิทยาศาสตร์ชาว เยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (Edeleno) ในรูปของ แอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulphate) ต่อมาในปี ค.ศ. 1888 นักวิทยาศาสตร์ชาว ญี่ปุ่น ก็สามารถ สังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบ ประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า ในอดีตที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แอมเฟตามีนถ
ยาบ้า
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ยาบ้า เป็น ยาเสพติด สารสังเคราะห์ ประกอบด้วย เมทแอมฟีตะมีน ผสมกับ กาเฟอีน [1] [2] มีชื่ออื่น ๆ เรียก เช่น ยาม้า, ยาขยัน, ยาแก้ง่วง, ยาโด๊ป, ยาตื่นตัว, ยาเพิ่มพลัง, WY, ตัวเล็ก นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดใส่ฟอยล์แล้วนำไปลนไฟโดยใช้ไฟลอย โดยการอมน้ำไว้ในปากเพื่อผ่านน้ำแล้วสูบเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท พอใช้ในปริมาณมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการหลอนประสาท หูแว่ว ระแวง ควบคุมตัวเองไม่ได้ จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2441 ลักษณะทางกายภาพ [ แก้ ] ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 - 8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80 - 100 มิลลิกรัม มีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีแดง สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ เช่น รูปหัวม้าและอักษร LONDON มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, ฬ99, M, PG, WY สัญลักษณ์ร