บทความ

ยาอี

รูปภาพ
                                                                            ยาอี . ยาอี หรือ ecstasy  เป็นยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่เรียกว่า MDMA หรือ methamphetamine เป็นสารเสพติดชนิดกระตุ้นประสาท โดยออกฤทธิ์กระตุ้นสมองชั้นในเพื่อกระตุ้นความสุข ทำให้ผู้เสพมีอาการเคลิบเคลิ้ม คึกคัก รู้สึกสนุกอยู่ตลอดเวลา เห็นแสงและสีที่ต่างไปจากจริง รวมถึงยังกระตุ้นความต้องการทางเพศให้สูงขึ้น ยาอี จึงมีฉายาที่เรียกว่ายาเลิฟนั่นเอง ยาเสพติดชนิดนี้จึงมักถูกนำมาใช้ในงานปาร์ตี้สังสรรค์และเป็นที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่น  โดยในขณะออกฤทธิ์ ผู้เสพจะมีอาการหัวใจสูบฉีด กล้ามเนื้อกระตุก เนื่องจากฤทธิ์ของยาอีส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ เมื่อยาหมดฤทธิ์ ผู้เสพบางรายอาจมีอาการซึมเศร้า หดหู่ และประสาทหลอน (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี 2522 ) แหล่งที่มาhttps://thaipublica.org/2023/05/srinaka-happy-water-23-05-2566/

กัญชา

รูปภาพ
                                                                          กัญชา กัญชา (cannabis sativa)     พืชกัญชาชนิด  cannabis sativa   เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522          ในกัญชามีสารเคมี cannabinoids อยู่จำนวนหนึ่ง โดยสารสำคัญในกลุ่มนี้ที่เชื่อว่าออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ d9- tetrahydrocannabinol (thc) และสารดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การค้นคว้าเกี่ยวกับฤทธิ์ของ thc นำไปสู่การผลิตยา dronabinol (marinol) ซึ่งมีส่วนผสมของ thc สำหรับใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน และทำให้เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์         กัญชานิยมเสพโดยการสูบ ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะ

ยาเค

รูปภาพ
                                                                       ยาเค   ยาเค หรือ ketamine  เป็นยาที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ทางการแพทย์โดยการใช้เป็นยาสลบ จัดเป็นยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรง ส่งผลให้ระดับสารเคมีในสมองเสียสมดุล บิดเบือนความรู้สึกของผู้เสพ และเนื่องจากเป็นยาที่จัดอยู่ในหมวดยาสลบ ผู้เสพจะรู้สึกเหมือนหลุดออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีอาการมึนเมา เคลิบเคลิ้ม เห็นภาพหลอนเนื่องจากกระบวนการรับรู้และตอบสนองได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ยา  หากได้รับยาในปริมาณมากจะทำให้เกิดการสูญเสียกระบวนการทางความคิด ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน หวาดระแวง หูแว่ว  โดยส่วนมากยาเคจะอยู่ในรูปแบบผงสีขาว ไร้กลิ่น ไร้รส จึงนิยมนำมาใช้ในลักษณะสูดดมเพื่อให้เกิดอาการเมาหรือผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ (จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518) แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2023/05/srinaka-happy-water-23-05-2566/

ยานอนหลับ

รูปภาพ
                                                               ยานอนหลับ . ยานอนหลับ เช่น กลุ่มยาไดอะซีแพม (diazepam), กลุ่มยาไนเมตาซีแพม (nimetazepam) หรือตัวยาอื่นๆ  ในกลุ่มของยานอนหลับ จัดอยู่ในกลุ่มยาคลายกังวล สงบประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ รวมถึงการรักษาโรคที่เกิดจากความเครียด เนื่องจากจะช่วยออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกัน อย่างไรก็ตาม ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยทั่วไปการใช้ยาชนิดนี้จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งผลข้างเคียงของการใช้ยาชนิดนี้คือ อาจมีอาการคล้ายเมาค้าง มองเห็นภาพซ้อน หายใจติดขัด นำไปสู่อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และหากนำไปใช้ร่วมกับยากดประสาทชนิดอื่นๆ หรือแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2023/05/srinaka-happy-water-23-05-2566/

ฝิ่น

รูปภาพ
                                                                  ฝิ่น [1] ฝิ่น (Opium)  เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ที่เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า แอลคะลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ              ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมาและเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)              ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่าแอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติดแต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคั

เฮโรอิน

รูปภาพ
                                                                เฮโรอิน เฮโรอีน เฮโรอีน  ( อังกฤษ :  heroin ) มีอีกชื่อว่า  ไดอาเซทิลมอร์ฟีน  (diacetylmorphine) และ  ไดอามอร์ฟีน  (diamorphine) กับชื่ออื่น ๆ [3]  เป็น โอปิออยด์ มีกำลังที่ส่วนใหญ่ใช้ในฐานะ ยากระตุ้นความบันเทิง ที่ก่อให้เกิดอาการเคลิ้มสุข ไดอามอร์ฟีนทางการแพทย์เป็นเกลือไฮโดรคลอไรด์บริสุทธิ์ มีการขายผงขาวและน้ำตาลอย่างผิดกฎหมายจำนวนมากทั่วโลก เนื่องจากเฮโรอีนสามารถ "ตัด" ได้หลายรูปแบบ เฮโรอีนใช้ในทางการแพทย์ในหลายประเทศเพื่อบรรเทาอาการปวด อย่างในช่วงคลอดลูก หรือมี โรคหัวใจวาย  เช่นเดียวกันกับ การบำบัดทดแทนโอปิออยด์ [8] [9] [10] ผลข้างเคียงโดยทั่วไปได้แก่ การกดการหายใจ  (หายใจน้อยลง), ปากแห้ง, เซื่องซึม, การทำงานทางจิตบกพร่อง, ท้องผูก และ การติด [11]  การใช้งานด้วยวิธีการฉีดสามารถก่อให้เกิด ฝี ,  การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ ,  เชื้อที่ติดต่อทางเลือด  และ โรคปอดอักเสบ [11]  หลังการใช้งานเป็นเวลายาวนาน อาการที่เกี่ยวกับ การหยุดใช้งานโอปิออยด์ จะเริ่มมีผลหลังใช้งานครั้งสุดท้ายภายในไม่กี่ชั่วโมง [11]  ถ้าฉีดเข้าเส้นเลื